กลยุทธ์การแก้ไขปัญหา

ฐานความช่วยเหลือ

ด้านความคิดรวบยอด

พิษจากการใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์

          สีผสมอาหาร ถึงแม้จะเป็นสีสังเคราะห์ที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ แต่เราต้องเข้าใจว่า  สีสังเคราะห์ทุกชนิดเป็นสารที่ไม่มีประโยชน์ หรือไม่มีคุณค่าทางอาหารต่อร่างกาย ดังนั้น  การใช้สีสังเคราะห์จะต้องใช้แต่น้อย และปริมาณจำกัดหากบริโภคในปริมาณที่มาก หรือบ่อยครั้ง จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค คือ สีจะไปเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้ทำให้น้ำย่อยอาหารออกมาไม่สะดวก อาหารย่อยยาก เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขัดขวาง การดูดซึมอาหาร ทำให้ท้องเดิน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย อาจมีอาการ ของตับและไตอักเสบ  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง

    นอกจากนี้อาจมีสารอื่นเจือปนตกค้าง ได้แก่ โลหะหนักต่าง ๆ เช่น แคดเมียม ตะกั่ว สารหนู ปรอท พลวง โครเมียม เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้

สีผสมอาหารสังเคราะห์

   เป็นสีที่ผลิตขึ้นโดยเลียนแบบโครงสร้างสีจากธรรมชาติ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2522) ได้แบ่งสีผสมอาหารสังเคราะห์ออกเป็น  4 จำพวกคือ
1. จำพวกสีแดง ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์  เออริโธรซีน คาร์โมอีซีน หรือเอโซรูบีน
2. จำพวกสีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน  ซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ (Sunset yellow FCF) ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)
3. จำพวกสีเขียว ได้แก่ ฟาสต์กรีน เอฟซีเอฟ (FCF)
4. จำพวกสีน้ำเงิน ได้แก่ อินดิโกคาร์มีน หรืออินดิโกทีน บริล เลียนต์บลู เอฟซีเอฟ

                รูป สีผสมสารอาหารสังเคราะห์

สารจากธรรมชาติ

สีจากธรรมชาติคือ คือ สีที่ได้จากการสกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติผ่านการ พิจารณาในเรื่องส่วนประกอบ กรรมวิธีการผลิต ความบริสุทธิ์และอื่นๆ จนแน่ใจว่า ปลอดภัยต่อการ

-ใบเตย ให้สีเขียว

 -กาบมะพร้าว ให้สีดำ

-ขมิ้น ให้สีเหลือง

 -ดอกอัญชัน ให้สีม่วงคราม

-ครั่ง ได้สีแดง

-กระเจี๊ยบ จะได้สีแดงเข้ม

-เกสรดอกคำฝอย จะได้สีเหลือง

รูป สีจากธรรมชาติ

ธนาคารความรู้ เรื่องสารแต่งสีอาหาร

สารแต่งสีอาหาร

ในปัจจุบัน มีการใช้สารแต่งสีอาหารมากขึ้น เพื่อให้อาหารมีความสวยงาม น่าซื้อมารับประทาน  โดยเฉพาะอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายแก่เด็ก ๆ ผู้ผลิตมักนิยมใส่สารแต่งสีมากเป็นพิเศษ  เป็นเพราะเด็ก ๆ จะชอบของที่มีสีสันสวยงาม  อาหารที่นิยมแต่งสี เช่น กุ้งแห้ง  ปลาเค็ม  ผลไม้ดอง   ลูกอม  ลูกกวาด  ลูกชิ้น ไส้กรอก  น้ำอัดลม น้ำหวาน  และ ขนมไทยต่าง ๆ

สีที่ใช้ใส่ในอาหารเหล่านี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
        1. สีจากธรรมชาติ
        2. สีสังเคราะห์

สถานการณ์ปัญหา

หนูนิดไปโรงเรียนมักจะชอบซื้อกินผลไม้ดอง ลูกชิ้นทอด  น้ำอัดลม ลูกอม เป็นประจำทุกวัน อาหารพวกนี้มีสารปรุงแต่งอาหารปนอยู่ หนูนิดเริ่มมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย พ่อแม่จึงเกิดความสงสัยอาการของหนูนิด จึงพาหนูนิดไปโรงพยาบาล แพทย์ได้ชี้แจงว่าหนูนิดได้บริโภคอาหารที่ปรุงแต่งอาหารเป็นเวลานานจึงเกิดอาการเช่นนี้  แพทย์แนะนำให้งดอาหารจำพวกผลไม้ดอง   ลูกอม  ลูกกวาด  ลูกชิ้น ไส้กรอก  น้ำอัดลม น้ำหวาน เพราะถ้าได้รับมากอาจถึงแก่ชีวิตได้

  ภารกิจ

1.วิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้หนูนิดได้รับสารแต่งสีอาหารพร้อมทั้งอธิบายเหตุผล

2.จากสถานการณ์ผู้เรียนมีข้อเสนอแนะการกินที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภคอย่างไรพร้อมทั้งอธิบาย

3.จากสถานการณ์ผู้เรียนอธิบายแนวทางแก้ไขปัญหาการกินอาหารประเภทนี้อย่างไร

กลยุทธ์การแก้ไขปัญหา

ฐานความช่วยเหลือ

ด้านความคิดรวบยอด

ผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม

1. ก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำจากการเพิ่มของค่าความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมีและทางเคมี  เนื่องมาจากการมีปริมาณสารอินทรีย์ หรือสารอาหารในแหล่งน้ำในปริมาณสูง
2. เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสลายของพลาสติกย่อยสลายได้ในสภาวะแวดล้อม เช่น การย่อยสลายของพลาสติกในสภาวะการฝังกลบ
3. เกิดมลภาวะจากขยะอันเนื่องมาจากการใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ถูกทิ้งหรือตกลงในสิ่งแวดล้อมที่มีสภาวะไม่เหมาะสมต่อการย่อยสลาย เช่น ถูกลมพัด และติดค้างอยู่บนกิ่งไม้
4. ความเป็นพิษของคอมโพสท์ที่ได้จากการหมักพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เนื่องจากการมีสารตกค้าง หรือใช้สารเติมแต่งที่มีความเป็นพิษ และส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดิน เช่น ไส้เดือน